หน้าผาเขาชีจรรย์เป็นเหมืองหินเก่า มีความสูงประมาณ 170 เมตร หันหน้า (ด้านที่ระเบิดออก) ไปทางทิศเหนือโดยประมาณ เริ่มแรกใช้วิธีการวาดรูปพระพุทธรูปบนหน้าผาโดยการห้อยเชือกวาดโดยนาวิกโยธินจากฐานทัพเรือสัตหีบ ต่อมาภายหลังได้มีการฉายเลเซอร์เป็นภาพไปบนหน้าผาเพื่อความแม่นยำในการแกะสลัก
โครงการนี้ต้องมีการศึกษาธรณีวิทยาอย่างละเอียด และอาจจะเป็นการดูหินที่หวาดเสียวที่สุดในประเทศไทยก็ว่าได้ เพราะนักธรณีวิทยาที่รับผิดชอบงานนี้จะต้องห้อยโจนทะยานตรวจสอบสภาพหินในระดับความสูงเกือบ 200 เมตร
หน้าผาเขาชีจรรย์ประกอบด้วยหินปูนยุคออร์โดวิเชียน ที่ถูกแปรสภาพจากการแทรกตัวของหินแกรนิต ทำให้หินปูนดังกล่าวบางส่วนกลายสภาพเป็นหินแปรชนิดหินอ่อนและหินแคลซ์ซิลิเกต สีเทาดำสลับขาว หิน
แรงระเบิดจากการทำเหมืองหินในอดีตประกอบกับการแทรกตัวของหินแกรนิตทำให้หินบริเวณหน้าผามีสภาพแตกร้าว มีรอยเลื่อนและคดโค้งมากมาย