กราบไหว้และขอพร พระพุทธรูปสลักบนภูเขาชีจรรย์


พระพุทธรูปที่เห็นบนเขาชีจรรย์นี้เป็นพระพุทธรูปประทับนั่งปางมารวิชัยเลียนแบบพระพุทธนวราชบพิตรศิลปะสุโขทัยผสมล้านนา ขนาดความสูง 109 เมตรหน้าตักกว้าง 70 เมตรฐานบัวหรือบัวบัลลังค์สูง 21 เมตรรวมความสูงขององค์พระและบัลลังค์ทั้งสิ้น 130 เมตรเป็นแบบนูนต่ำ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตพระราชทานนามพระพุทธรูปว่า ” พระพุทธมหาวชิรอุตตโมภาสศาสดา” มีความหมายว่า ” พระพุทธเจ้าทรงเป็นศาสดาที่รุ่งเรื่องสว่างประเสริฐ ดุจดังมหาวชิระ ”

พระพุทธรูปเขาชีจรรย์นี้ก่อสร้างโดยใช้การควบคุมการยิงเลเซอร์เพื่อวาดภาพบนเขา ซึ่งการฉายแสงวาดภาพบนเขาต้องทำในเวลากลางคืนเพื่อการมองเห็นที่ชัดเจนให้คนงานโรยตัวด้วยเชือกลงมาจากยอดเขา แล้วใช้สีฝุ่นวาดแต้มเป็นจุดตามที่แสงเลเซอร์กำหนดไว้การก่อสร้างเป็นไปอย่างยากลำบาก แต่ในที่สุดก็สามารถเสร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี และในวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2539 มีการประกอบพิธีน้อมเกล้าถวายพระพุทธรูปแกะสลักบนหน้าผาเขาชีจรรย์ แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขอพระราชทานมหากรุณาธิคุณเสด็จฯไปทรงประกอบพิธีเบิกพระเนตรและบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่พระอุระของพระพุทธรูป เพื่อให้เกิดเป็นสิริมงคลสืบไป

ข้อมูลทั่วไป


พระพุทธรูปแกะสลักหน้าผาเขาชีจรรย์ มีชื่อว่า "พระพุทธมหาวชิรอุตตโมภาสศาสดา" ตั้งอยู่ที่ ตำบลนาจอมเทียน อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยเลียนแบบพระพุทธนวราชบพิตรศิลปะสุโขทัยผสมล้านนา แกะสลักด้วยแสงเลเซอร์บนหน้าผาของเขาชีจรรย์ มีความสูง 130 เมตร หน้าตักกว้าง 70 เมตร ภายในพระอุระบรรจุพระรัตนะบรมสารีริกธาตุ
สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2539 เพื่อเฉลิมพระเกียรติและถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในวโรกาสมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ใช้เงินค่าจัดสร้างทั้งสิ้นประมาณ 161.7 ล้านบาท
บริเวณโดยรอบตกแต่งเป็นสวนพักผ่อนหย่อนใจสวยงาม บริหารงานโดยสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติและจังหวัดชลบุรี และดูแลบำรุงรักษาโดยหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน กองทัพเรือ

ความเป็นมา

พระพุทธรูปแกะสลักหน้าผาเขาชีจรรย์ เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในการพัฒนาพื้นที่วัดญาณสังวราราม จ.ชลบุรี โดยมีสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก ทรงเป็นผู้อุปถัมภ์และมีเจตนารมณ์สร้างขึ้นเพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อให้เป็นพระพุทธรูปแกะสลักหินประจำรัชกาลที่ 9 ในวาระทรงครองราชย์ฯ 50 ปี
การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ เริ่มขึ้นตั้งแต่ปีพ.ศ.2537 และกำหนดรูปแบบพระพุทธรูปเป็นพระพุทธรูปนั่งปรางค์มารวิชัยขนาดความสูงขององค์พระพุทธรูป 109 เมตร มีฐานบัว
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชวินิฉัยฯ สรุปได้ว่า สมควรจัดสร้างเป็นแบบลายเส้น แต่ให้ลึกและชัดขึ้นเห็นเป็นรูปพระพุทธรูปในระยะไกลจะดีกว่าการสร้างแบบนูนต่ำ ซึ่งไม่เหมาะสมเพราะจะมีปัญหาในด้านการบำรุงรักษาตลอดจนระยะเวลาและค่าก่อสร้าง เพราะเป็นเขาหินปูนและให้มีมาตรการด้านความปลอดภัยโดยกันพื้นที่ด้านหน้าใกล้องค์พระเป็นเขตห้ามเข้าเด็ดขาด
ปี พ.ศ. 2538 ในเดือนมิถุนายน หลังจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย (AIT) ได้ทำการสรรหาและคัดเลือกบริษัทฯ ที่เหมาะสมแล้วคณะกรรมการฯ จึงได้ว่าจ้างบริษัท อินเตอร์แนชั่นแนลบลาสเตอร์ จำกัด ให้เป็นผู้ดำเนินการโครงการฯ ในวงเงิน 43,305,800 บาท ภายในระยะเวลา 1 ปี โดยสถาบัน AIT เป็นวิศวกรที่ปรึกษาและผู้ควบคุมงาน

ธรณีวิทยา


หน้าผาเขาชีจรรย์เป็นเหมืองหินเก่า มีความสูงประมาณ 170 เมตร หันหน้า (ด้านที่ระเบิดออก) ไปทางทิศเหนือโดยประมาณ เริ่มแรกใช้วิธีการวาดรูปพระพุทธรูปบนหน้าผาโดยการห้อยเชือกวาดโดยนาวิกโยธินจากฐานทัพเรือสัตหีบ ต่อมาภายหลังได้มีการฉายเลเซอร์เป็นภาพไปบนหน้าผาเพื่อความแม่นยำในการแกะสลัก
โครงการนี้ต้องมีการศึกษาธรณีวิทยาอย่างละเอียด และอาจจะเป็นการดูหินที่หวาดเสียวที่สุดในประเทศไทยก็ว่าได้ เพราะนักธรณีวิทยาที่รับผิดชอบงานนี้จะต้องห้อยโจนทะยานตรวจสอบสภาพหินในระดับความสูงเกือบ 200 เมตร
หน้าผาเขาชีจรรย์ประกอบด้วยหินปูนยุคออร์โดวิเชียน ที่ถูกแปรสภาพจากการแทรกตัวของหินแกรนิต ทำให้หินปูนดังกล่าวบางส่วนกลายสภาพเป็นหินแปรชนิดหินอ่อนและหินแคลซ์ซิลิเกต สีเทาดำสลับขาว หิน
แรงระเบิดจากการทำเหมืองหินในอดีตประกอบกับการแทรกตัวของหินแกรนิตทำให้หินบริเวณหน้าผามีสภาพแตกร้าว มีรอยเลื่อนและคดโค้งมากมาย

กำเนิดโครงการ

สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก ทรงเป็นผู้ริเริ่มโครงการก่อสร้างพระพุทธรูปแกะสลักหน้าผาเขาชีจรรย์แห่งนี้ โดยมี ศ.ดร.ปริญญา นุตาลัย ปรมาจารย์ทางธรณีวิทยาของไทย เป็นผู้ที่ทำให้โครงการ ”มหัศจรรย์” นี้ กลายเป็น “ฝันที่เป็นจริง” เพราะก่อนหน้านั้นเกือบจะกลายเป็น “หมัน” ไปซะ ด้วยว่าบรรดานักวิชาการทั้งไทยและเทศ(จีน) ที่เชิญมาดูที่หน้าผาต่างพากันส่ายหัว แล้วพากันชัวร์ว่า ”ไม่น่าจะเป็นไปได้” ด้วยราคาและเวลาอันจำกัดขนาดนี้ (น้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อให้เป็นพระพุทธรูปแกะสลักหินประจำรัชกาลที่ 9 ในวาระทรงครองราชย์ฯ ได้ 50 ปี)
“เหนือฟ้ายังมียานอวกาศฉันใด เหนือข้าวหมกไก่ย่อมมีหอมซอยเจียวฉันนั้น!” พอท่านอาจารย์ปริญญา คิดตกจึงได้ยกหูหา คุณชวลิต ถนอมถิ่น ให้มาคิดเป็นการบ้านว่า ”จะเป็นไปได้มั้ย” ที่จริงผมก็ตอบแทนคุณชวลิตที่เป็นเจ้านายได้อย่างทันทีว่า ”เป็นไปได้แน่นอนครับจารย์” เพราะตั้งแต่ท่านเป็น ”เจ้านาย” ผมมากว่า 15 ปี “ไม่มีอะไรที่นักธรณีฯทำไม่ได้!” ซึ่งเป็นวลีที่ติดหัวติดตัวมาจนถึงทุกวันนี้

ขั้นตอนการสร้าง

การจัดสร้างพระพุทธรูปแกะสลักแบ่งงานเป็น 2 ส่วนคือส่วนที่หนึ่ง การก่อสร้างพระพุทธรูปหน้าผาเขาชีจรรย์ และส่วนที่สองคือการตกแต่งภูมิทัศน์รอบองค์พระพุทธรูปแกะสลักหน้าผา เขาชีจรรย์

การก่อสร้างสถาบันเทคโนโลยี่แห่งเอเซีย (เอ.ไอ.ที) เป็นผู้ดำเนินการกลั่นกรองบริษัทเอกชนที่เหมาะสมในการก่อสร้างซึ่ง ดร.วิบูลย์ แสงวีระพันธ์ศิริ อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์จากจุฬาลงกรณ์ ออกแบบการปรับแต่งผิวหน้า นาย กนก บุญโพธิ์แก้ว รองอธิบดีกรมศิลปากร เป็นผู้ออกแบบองค์พระ และในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ 2538 นายธารินทร์ นิมมานเหมินทร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ว่าจ้างบริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล บลาสเตอร์ เป็นผู้ทำการก่อสร้างในราคา 43,305,800 บาท
งานระยะแรก เริ่มจากการสำรวจเพื่อการปรับแต่งผิวหน้าผาและเพื่อกำหนดความลึกของลายเส้นขององค์พระจากนั้นจึงระเบิดปรับเกลา และปิดรอยแตกร้าวด้วยวัตถุชนิดเดียวกับหน้าผา

จากนั้นงานระยะที่สอง ทำการสแกนภาพต้นแบบของพระพุทธรูปไว้ในคอมพิวเตอร์แล้วบันทึกโปรแกรมส่งไปยังสแกนเนอร์ เพื่อควบคุมการยิงเลเซอร์เพื่อวาดภาพบนเขา ซึ่งการฉายแสงวาดภาพบนเขาต้องทำในเวลากลางคืนเพื่อ การมองเห็นที่ชัดเจนให้คนงานโรยตัวด้วยเชือกลงมาจากยอดเขา แล้วใช้สีฝุ่นวาดแต้มเป็นจุดตามที่แสงเลเซอร์กำหนดไว้

การก่อสร้างเป็นไปอย่างยากลำบากเนื่องจาก ผิวหน้าผามีการแตกและช้ำมาก และฝนก็ยังได้ตกลงมาทำให้การทำงานมีความเสี่ยงมากขึ้น แต่ในที่สุดก็สามารถเสร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี และในวันที่ 31 กรกฎาคม 2539 มีการประกอบพิธีน้อมเกล้าถวายพระพุทธรูปแกะสลักบนหน้าผาเขาชีจรรย์ แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขอพระราชทานมหากรุณาธิคุณเสด็จฯไปทรงประกอบพิธีเบิกพระเนตร และบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่พระอุระของพระพุทธรูป เพื่อให้เกิดเป็นสิริมงคลสืบไป

เดินเล่นในสวนบริเวณรอบๆพระพุทธรูปแกะสลัก


พื้นที่บริเวณเขาชีจรรย์นี้มีพื้นที่ครอบคลุมประมาณ 1 ใน 4 ตารางกิโลเมตร บริเวณโดยรอบตกแต่งเป็นสวนพักผ่อนหย่อนใจสวยงาม ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของกองทัพเรือ หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน


คำแนะนำการเที่ยวชม


การเยี่ยมชมสามารถเปิดให้เข้าชมได้ตั้งแต่เวลา 06.00 น.- 18.00 น. การเยี่ยมชมควรแต่งกายด้วยความสุภาพ -ปฎิบัติตามป้ายเตือนอย่างเคร่งครัด และงดเสียงดัง และควรระวังไม่เข้าใกล้องค์พระเกินกว่าที่กำหนดเพราะอาจ เกิดอันตรายจากหินที่อาจล่วงหล่นลงมาได้ พระพุทธรูปแกะสลักหน้าผาเขาชีจรรย์ เปิดให้เข้าเยี่ยมชม โดยไม่มี ค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น